“การจ้างทดลองงาน” หมายถึง การที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยมีเงื่อนไขให้ลูกจ้างทดลองปฎิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถในการทำงานตลอดจนทักษะในการทำงานตำแหน่งนั้นๆของลูกจ้าง หากผลการทำงานเป็นที่พอใจลูกจ้างก็จะสามารถทำงานต่อไป แต่ถ้าหากผลงานของลูกจ้างไม่เป็นที่พอใจ นายจ้างสามารถเลิกจ้างหรือขยายระยะเวลาทดลองงานของลูกจ้างได้
ตามหลักกฎหมายแล้วไม่ได้มีข้อบังคับเรื่องการกำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ชัดเจน นายจ้างมีสิทธิ์ทดลองงานนานเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับพนักงานคนนั้นๆ โดยเงื่อนไขการทำงานนี้อาจจะตกลงก่อนเริ่มทำงานจริง
อันที่จริงตามกฏหมายแล้วพนักงานทดลองงานนั้นมีฐานะเป็น “พนักงานประจำ” เช่นเดียวกันกับพนักงานปกติที่ได้รับการบรรจุแล้ว และมีสิทธิได้ผลประโยชน์ตลอดจนความคุ้มครองตามกฏหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน เช่น ถ้าในช่วงทดลองงานพนักงานใหม่มาทำงานวันแรกและเกิดล้มป่วยในวันที่สอง พนักงานคนนั้นก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับการลาป่วยแบบเดียวกับพนักงานปกติเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงานแบบรายวัน, รายชั่วโมง, หรือแม้แต่รายเดือนก็ตาม
ระยะเวลาการทดลองงานส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 120 วัน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่กำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้ที่ 180 วัน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 118 (1) กำหนดไว้ว่าให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ในอัตราที่ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
ดังนั้นจึงเป็นช่องว่างให้นายจ้างมักจะเลิกจ้างก่อนครบอายุงาน 120 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหรือข้อถกเถียงที่ว่าพนักงานทำงานครบ 120 วันหรือไม่ เพราะถ้าเลิกจ้างในวันที่ครบกำหนด หรือมากกว่า โดยที่พนักงานไม่ได้มีความผิดใดๆ ตามมาตรา 119 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยเหมือนพนักงานที่บรรจุปกติทั่วไป
เมื่อครบกําหนดระยะเวลาทดลองงานแล้วนายจ้างมีสิทธิให้พนักงานทดลองงานต่อไปตามระยะเวลาที่นายจ้างกําหนด หรือมีสิทธิบรรจุลูกจ้างเป็นพนักงานโดยอยู่ในดลยพินิจของนายจ้าง”
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างทดลองงาน แบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ
1) กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คือการไม่ผ่านการทดลองงาน เนื่องจากผลงานไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะอาจขาดความรู้ ความสามารถหรือคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนั้น หากคุณถูกเลิกจ้างระหว่างทดลองงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนหนึ่งงวดค่า จ้าง คุณมีสิทธิ์ได้เงินแทน ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยนับระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่วันเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง จนถึงวันเลิกจ้างเป็นระยะเวลาทำงาน เพื่อเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชย
2) เลิกจ้างระหว่างทดลองงานกรณีที่ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าคือกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119 ดังต่อไปนี้
เรายังมีคลิปอธิบายเรื่องของ การทดลองงาน สำหรับคนที่ผู้ที่สนใจตามด้านล่างนี้
Smart Search Recruitment มีข้อมูลที่มีสาระสนุกๆและเป็นประโยชน์เกี่ยวกับงานทรัพยาการบุคคล การจัดหางาน และการทำจ่าย outsource payroll งาน HR มาแชร์กับทุกคน หรือหากใครกำลังมองหาหรือคิดที่จะใช้เอเจนซี่ในการจ้างพนักงานสามารถติดต่อเราได้ที่ ที่นี่ ถ้าหากคุณกำลังเปิดโอกาสให้กับงานใหม่ๆ เรามีความตั้งใจที่จะเป็นที่ที่บริษัทได้มาพบเจอกับผู้สมัครที่ตรงใจ และผู้สมัครได้ทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตจริงๆ สามารถติดตามพวกเราได้ผ่านช่องทางโซเชี่ยลต่างๆดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้องเรื่อง Understand more about Thailand’s payroll and deduction กดที่นี่
Facebook: Smart Search Recruitment
Twitter: SmartsearchBKK
Instagram: SS.Recruitment